แชร์

อัลตราซาวด์ (Ultrasound) คืออะไร เหมาะสำหรับตรวจโรคใดบ้าง ?

อัพเดทล่าสุด: 12 ส.ค. 2023
2469 ผู้เข้าชม

Ultrasound (อัลตราซาวด์) คือเครื่องมือที่ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงส่งผ่านหัวตรวจ (probe) ผ่านเนื้อเยื่อชั้นต่างๆในร่างกาย ซึ่งเนื้อเยื่อแต่ละชนิดจะมีความสามารถในการสะท้อนกลับของคลื่นเสียงไม่เท่ากัน ทำให้เกิดเป็นรูปอวัยวะภายในต่างๆให้เราเห็น 

โรคและอวัยวะที่สามารถตรวจได้จากอัลตราซาวด์ เช่น

  • โรคตับแข็ง ไขมันพอกตับ ตับอักเสบ บี ก้อนในตับ มะเร็งตับ 
  • นิ่วหรือติ่งเนื้อในถุงน้ำดี ท่อน้ำดีอุดตัน
  • โรคไต นิ่วในไต ถุงน้ำที่ไต
  • ก้อนในท้อง มดลูก ถุงน้ำรังไข่ ต่อมลูกหมากโต
  • ก้อนไทรอยด์ ก้อนที่คอ
  • ก้อนที่เต้านม
  • เส้นเลือดอุดตัน

ข้อดี
  • ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งไม่ใช่รังสี ทำให้ปลอดภัยต่อเนื้อเยี่ออ่อน ทารกในครรภ์ เด็ก และไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง
  • ให้ความละเอียดรูปสูง โดยเฉพาะอวัยวะส่วนตื้น เช่นไทรอยด์ เส้นเลือด
  • เครื่องมือมีขนาดเล็ก ทำได้ง่าย รวดเร็ว การเตรียมตัวไม่ยุ่งยาก

ข้อเสีย
  • คลื่นเสียงไม่สามารถส่งผ่านอากาศและกระดูกได้ ดังนั้นกระดูกต่างๆและ อวัยวะที่มีลม เช่น ปอด จะไม่สามารถตรวจได้ด้วยอัลตราซาวด์
  • ผู้ป่วยที่มีชั้นไขมันหนา จะตรวจได้ยาก เพราะคลื่นเสียงจะผ่านชั้นไขมันได้ไม่ลึกพอ ทำให้คุณภาพของภาพและการวินิจฉัยลดลง

การเตรียมตัวที่ดีจะช่วยให้การตรวจง่ายและวินิจฉัยได้แม่นยำขึ้น ดังนี้
  • ตรวจช่องท้อง ควรงดน้ำงดอาหาร อย่างน้อย 4-6ชั่วโมง
  • ตรวจระบบปัสสาวะ และอุ้งเชิงกราน กลั้นปัสสาวะไว้ก่อนตรวจ
  • เต้านม รักแร้และลำคอ งดทาแป้ง ครีม และโรลออนบริเวณดังกล่าว
  • การตรวจบริเวณอื่นไม่จำเป็นต้องเตรียมตัว


ปัจจุบัน อัลตราซาวด์มีบริการในคลินิกและโรงพยาบาลขนาดเล็กมากขึ้น ทำให้คนส่วนใหญ่เริ่มคุ้นเคยกับการตรวจและเข้าถึงได้ง่าย อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยด้วยอัลตราซาวด์ต้องใช้ความชำนาญของแพทย์ที่ทำการตรวจร่วมด้วย ดังนั้นการอัลตราซาวด์โดยแพทย์ที่มีความชำนาญจึงเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการตรวจด้วยอัลตราซาวด์ 

 


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy