แชร์

การส่องกล้องทางเดินอาหารคืออะไร ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด?

อัพเดทล่าสุด: 12 ส.ค. 2023
1784 ผู้เข้าชม
กล้องส่องทางเดินอาหาร (Endoscopy) เป็นการตรวจพยาธิสภาพ หรือ โรคต่างๆ ในทางเดินอาหารตั้งแต่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร จนถึงลำไส้ใหญ่ การส่องกล้องเป็นการตรวจที่ปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องพักรักษาตัวหลังส่องกล้อง และทราบผลได้ทันที โดยการตรวจใช้เวลาไม่นาน 

กล้องส่องทางเดินอาหาร เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นกล้องใยแก้วน้ำแสง (Fiber optic) ที่ถูกทำให้เป็นกล้องยาวขนาดเล็ก ซึ่งแพทย์สามารถบังคับ ให้กล้องขยับโค้งงอได้ตามต้องการ โดยสามารถแบ่งการตรวจออกได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 แบบ

  • การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น (Gastroscopy : EGD) โดยกล้อง มีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. โดยแพทย์จะส่องเข้าไปในช่องปาก ผ่านหลอดอาหารเข้าสู่กระเพาะอาหาร จนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อทำการตรวจ โดยระยะเวลาการส่องกล้องประมาณ 5-10 นาที การส่องกล้องกระเพาะอาหาร มีอยู่ 2 วิธี ได้แก่
    • วิธีที่ 1 คือ การพ่นยาชาเฉพาะที่ที่คอ วิธีนี้ ผู้ป่วยยังรู้สึกตัวตลอดระหว่างการส่องกล้อง หลังจากตรวจเสร็จ ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้เลย
    • วิธีที่ 2 คือ การฉีดยาสลบ ทำให้หลับ ระหว่างการส่องกล้อง หลังตรวจเสร็จ จะต้องรอประมาณ 2 ชั่วโมง ให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ดีจากฤทธิ์ยา ถึงจะกลับบ้านได้ อาจมีผลให้อ่อนเพลีย ง่วงนอน หรือมึนงงหลังการตรวจอีกสักพัก จึงควรพักผ่อนมากๆ และมีญาติมาด้วย
  • การส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colonoscopy) เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. สามารถตรวจโรคในลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กส่วนปลายได้ โดยเป็นการตรวจที่ใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที ในการตรวจ เป็นการตรวจที่ดีที่สุดสำหรับการตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนั้นหากพบติ่งเนื้องอกในลำไส้ สามารถตัดติ่งเนื้องอกเหล่านั้นได้ในครั้งเดียว แต่เป็นการตรวจที่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนการส่งกล้องอย่างน้อย 3 วัน 
  • การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography : ERCP) สำหรับตรวจและรักษาทางเดินน้ำดี เช่น โรคนิ่วในท่อน้ำดี มะเร็งท่าน้ำดี เป็นต้น 

เมื่อไหร่ที่ควรจะพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจด้วยการส่องกล้อง

  • การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น ควรได้รับการตรวจเมื่อ มีอาการ เช่นไรบ้าง
    • อาการกรดไหลย้อนที่ทานยาแล้วไม่ดีขึ้น หรือ มีภาวะกลืนลำบาก หรือ กลืนเจ็บ
    • อาการปวดจุกแน่นลิ้นปี่ที่สงสัยโรคกระเพาะอาหารที่ทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือ มีอาเจียนเป็นเลือด หรือ อาเจียนตลอด ทานไม่ได้ ที่ส่งสัยว่าเป็นกระเพาะอาหารอักเสบ แผลในกระเพาะ หรือมะเร็งกระเพาะอาหาร 
    • ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ
  •  การส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ควรได้รับการตรวจเมื่อ มีอาการ เช่นไรบ้าง
    • อาการท้องผูก หรือ ท้องเสียเรื้อรัง หรือ ท้องผูกสลับท้องเสีย หรือ อุจจาระไม่สุด หรือมีถ่ายเลือด
    • อาการปวดท้องเรื้อรัง หรือท้องอืด 
    • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
    • ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก
    • รวมถึงผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป หรือ ผู้ที่มีประวัติมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว ที่ต้องการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ 

ต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนการส่องกล้อง

  • ต้องงดน้ำ – งดอาหาร ประมาณ 6-8 ชม. ก่อนการตรวจ
  • ในรายที่เข้ารับการตรวจด้วยกล้องส่องลำไส้ใหญ่ จะมีการเตรียมลำไส้อย่างน้อย 3 วัน รวมถึงมีการทานยาเตรียมลำไส้ ก่อนการส่องกล้อง
  • งดยาละลายลิ่มเลือดอย่างน้อย 7 วัน สำหรับบางคนอาจต้องได้รับยาปฏิชีวนะก่อนการส่องกล้องตรวจรักษา      

อาการที่เกิดขึ้นหลังจากการส่องกล้อง

  • อาจมีอาการแน่นท้อง อืดท้องได้หลังส่องกล้อง ซึ่งสามารถหายไปได้เองในเวลาไม่นาน
  • มีอาการปวดท้องน้อย หรือ ทวารหนักได้เล็กน้อย แต่หากมีอาการปวดท้องมาก ท้องแข็ง มีไข้หลังส่องกล่อง ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน

การส่องกล่อง ณ ปัจจุบันมีความแพร่หลายมากขึ้น หลายโรงพยาบาลสามารถทำการตรวจด้วยการส่องกล้องได้ โดยมีทั้งคลินิก โรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลของรัฐบาล ดังนั้นหากมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และไม่แน่ใจว่าจำเป็นต้องได้รับการส่องกล้องหรือไม่ ท่านสามารถสอบถามที่ โรงพยาบาล หรือ แพทย์เฉพาะทาง 


บทความที่เกี่ยวข้อง
H.pylori เอช.ไพโลไร การติดเชื้อในกระเพาะ โรคกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร คลินิก หมออรรถวิทย์ หมอกรเพ็ญ สุราษฎร์ธานี
การติดเชื้อ เอช ไพโลไร (H.pylori) เป็นสาเหตุที่สำคัญ ที่ทำให้เกิด โรคกระเพาะอาหาร โรคแผลในกระเพาะ และมะเร็งกระเพาะอาหาร
9 ก.ย. 2023
คลินิก หมออรรถวิทย์ หมอกรเพ็ญ ทางเดินอาหาร ตับ ลำไส้ กระเพาะ โรคทั่วไป ให้คำปรึกษา อัลตราซาวด์ ultrasound การตรวจเชื้อ pylori เป่าลมหายใจ
การติดเชื้อ เอช.ไพโลไร (Helicobacter pylori หรือ H. pylori) เป็นสาเหตุของ อาการจุกเสียดแน่นท้อง โรคแผลในกระเพาะอาหาร รวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหาร
2 ส.ค. 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy