การติดเชื้อ เอช ไพโลไร (H.pylori หรือ Helicobactor pylori) ภัยร้ายเงียบ อาจอันตรายถึงชีวิต
เอช. ไพโลไร เป็นสาเหตุที่สำคัญ ที่ทำให้เกิด โรคกระเพาะอาหาร โรคแผลในกระเพาะ รวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหาร
1️⃣ เชื้อ เอช.ไพโลไร สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร ?
● หากคุณมีอาการปวดท้อง เป็นๆ หายๆ ก่อนและหลังเวลารับประทานอาหาร มีอาการแสบร้อน หรือ มีอาการจุกแน่นนั้นอาจเป็นสัญญาณของ โรคกระเพาะอาหาร ซึ่งสาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร อาจเกิดจากที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ทานอาหารรสจัด มีความเครียด สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และการรักประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวด
● แต่สาเหตุที่สำคัญ อีกอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร คือการ ติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะ อาหารที่ชื่อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobactor Pylori) หรือที่เรียกว่า เอช.ไพโลไร (H.pylori)
● ในประเทศไทย คนที่มีโรคกระเพาะอาหาร มักจะมีเชื้อแบคทีเรีย ชนิดนี้อาศัยอยู่ในเยื่อบุกระเพาะอาหาร มากถึง 90% ทำให้เป็นสาเหตุของ โรคกระเพาะอาหาร ที่พบบ่อย และใกล้ตัวเรามากๆ
2️⃣ เชื้อ เอช.ไพโรไล คืออะไร และ เราได้รับเชื้อมาได้อย่างไร ?
● เชื้อ เอช.ไพโลไร เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่อาศัยในกระเพาะอาหารของมนุษย์เรา มีความสามารถในการทนกรด รวมถึงยังสามารถเกาะติดกับเยื่อบุของกระเพาะได้ ซึ่งทำให้เชื้อนี้ สามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะ ได้เป็นเวลานานนับ 10 ปี โดยอาจยังไม่แสดงอาการได้
● การติดเชื้อ เอช.ไพโลไร สามารถ “ติดต่อจากคนสู่คนได้” เพียงการรับประทานอาหารและใช้อุปกรณ์ที่ปนเปื้อนชนิดนี้ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ เชื้อก็สามารถเข้าสู่กระเพาะได้
● การได้รับเชื้อในปริมาณที่มาก หรือติดเชื้อ แบบเฉียบพลัน จะมีอาการเหมือนโรคกระเพาะอาหาร โดยมีไข้ ปวดท้องคลื่นไส้ อาเจียน แล้วอาการจะดีขึ้นเอง
3️⃣ เชื้อ เอช.ไพโลไร นั้นน่ากลัวอย่างไร
● คนที่ติดเชื้อส่วนใหญ่ มักไม่มีอาการ
■ 20% เท่านั้นที่มีอาการของโรคกระเพาะ
■ 10% จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
■ 1-3% ของคนที่ติดเชื้อกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ โดยมีโอกาสเป็น #มะเร็งกระเพาะอาหาร เพิ่มสูงขึ้น 2 เท่า
● สิ่งที่หน้ากลัวคือ อาการอาจจะคล้ายกับโรคกระเพาะธรรมดา หากปล่อยปะละเลย ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร มีเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ หากโชคร้ายก็อาจจะกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ซึ่งหากเจอในระแพร่กระจาย โอกาสเสียชีวิต สูงมากกว่า 90%
● นอกจากนั้นอาจเพิ่มคาวมเสี่ยงในการเกิดโรคอื่นๆ เช่น โรคโลหิตจากจากการขาดธาตุเหล็ก / วิตามิน บี12 โรคเกร็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกันตัวเอง
4️⃣ เมื่อไหร่ เราต้องได้รับการตรวจเชื้อ เอช.ไพโลไร ?