แชร์

การส่องกล้องทางเดินอาหารคืออะไร ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด?

อัพเดทล่าสุด: 12 ส.ค. 2023
913 ผู้เข้าชม
คลินิก หมออรรถวิทย์ หมอกรเพ็ญ ทางเดินอาหาร ตับ ลำไส้ กระเพาะ โรคทั่วไป ให้คำปรึกษา อัลตราซาวด์ ultrasound ส่องกล้องทางเดินอาหาร ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เตรียมตัว
กล้องส่องทางเดินอาหาร (Endoscopy) เป็นการตรวจพยาธิสภาพ หรือ โรคต่างๆ ในทางเดินอาหารตั้งแต่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร จนถึงลำไส้ใหญ่ การส่องกล้องเป็นการตรวจที่ปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องพักรักษาตัวหลังส่องกล้อง และทราบผลได้ทันที โดยการตรวจใช้เวลาไม่นาน 

กล้องส่องทางเดินอาหาร เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นกล้องใยแก้วน้ำแสง (Fiber optic) ที่ถูกทำให้เป็นกล้องยาวขนาดเล็ก ซึ่งแพทย์สามารถบังคับ ให้กล้องขยับโค้งงอได้ตามต้องการ โดยสามารถแบ่งการตรวจออกได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 แบบ

  • การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น (Gastroscopy : EGD) โดยกล้อง มีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. โดยแพทย์จะส่องเข้าไปในช่องปาก ผ่านหลอดอาหารเข้าสู่กระเพาะอาหาร จนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อทำการตรวจ โดยระยะเวลาการส่องกล้องประมาณ 5-10 นาที การส่องกล้องกระเพาะอาหาร มีอยู่ 2 วิธี ได้แก่
    • วิธีที่ 1 คือ การพ่นยาชาเฉพาะที่ที่คอ วิธีนี้ ผู้ป่วยยังรู้สึกตัวตลอดระหว่างการส่องกล้อง หลังจากตรวจเสร็จ ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้เลย
    • วิธีที่ 2 คือ การฉีดยาสลบ ทำให้หลับ ระหว่างการส่องกล้อง หลังตรวจเสร็จ จะต้องรอประมาณ 2 ชั่วโมง ให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ดีจากฤทธิ์ยา ถึงจะกลับบ้านได้ อาจมีผลให้อ่อนเพลีย ง่วงนอน หรือมึนงงหลังการตรวจอีกสักพัก จึงควรพักผ่อนมากๆ และมีญาติมาด้วย
  • การส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colonoscopy) เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. สามารถตรวจโรคในลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กส่วนปลายได้ โดยเป็นการตรวจที่ใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที ในการตรวจ เป็นการตรวจที่ดีที่สุดสำหรับการตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนั้นหากพบติ่งเนื้องอกในลำไส้ สามารถตัดติ่งเนื้องอกเหล่านั้นได้ในครั้งเดียว แต่เป็นการตรวจที่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนการส่งกล้องอย่างน้อย 3 วัน 
  • การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography : ERCP) สำหรับตรวจและรักษาทางเดินน้ำดี เช่น โรคนิ่วในท่อน้ำดี มะเร็งท่าน้ำดี เป็นต้น 

เมื่อไหร่ที่ควรจะพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจด้วยการส่องกล้อง

  • การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น ควรได้รับการตรวจเมื่อ มีอาการ เช่นไรบ้าง
    • อาการกรดไหลย้อนที่ทานยาแล้วไม่ดีขึ้น หรือ มีภาวะกลืนลำบาก หรือ กลืนเจ็บ
    • อาการปวดจุกแน่นลิ้นปี่ที่สงสัยโรคกระเพาะอาหารที่ทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือ มีอาเจียนเป็นเลือด หรือ อาเจียนตลอด ทานไม่ได้ ที่ส่งสัยว่าเป็นกระเพาะอาหารอักเสบ แผลในกระเพาะ หรือมะเร็งกระเพาะอาหาร 
    • ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ
  •  การส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ควรได้รับการตรวจเมื่อ มีอาการ เช่นไรบ้าง
    • อาการท้องผูก หรือ ท้องเสียเรื้อรัง หรือ ท้องผูกสลับท้องเสีย หรือ อุจจาระไม่สุด หรือมีถ่ายเลือด
    • อาการปวดท้องเรื้อรัง หรือท้องอืด 
    • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
    • ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก
    • รวมถึงผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป หรือ ผู้ที่มีประวัติมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว ที่ต้องการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ 

ต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนการส่องกล้อง

  • ต้องงดน้ำ – งดอาหาร ประมาณ 6-8 ชม. ก่อนการตรวจ
  • ในรายที่เข้ารับการตรวจด้วยกล้องส่องลำไส้ใหญ่ จะมีการเตรียมลำไส้อย่างน้อย 3 วัน รวมถึงมีการทานยาเตรียมลำไส้ ก่อนการส่องกล้อง
  • งดยาละลายลิ่มเลือดอย่างน้อย 7 วัน สำหรับบางคนอาจต้องได้รับยาปฏิชีวนะก่อนการส่องกล้องตรวจรักษา      

อาการที่เกิดขึ้นหลังจากการส่องกล้อง

  • อาจมีอาการแน่นท้อง อืดท้องได้หลังส่องกล้อง ซึ่งสามารถหายไปได้เองในเวลาไม่นาน
  • มีอาการปวดท้องน้อย หรือ ทวารหนักได้เล็กน้อย แต่หากมีอาการปวดท้องมาก ท้องแข็ง มีไข้หลังส่องกล่อง ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน

การส่องกล่อง ณ ปัจจุบันมีความแพร่หลายมากขึ้น หลายโรงพยาบาลสามารถทำการตรวจด้วยการส่องกล้องได้ โดยมีทั้งคลินิก โรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลของรัฐบาล ดังนั้นหากมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และไม่แน่ใจว่าจำเป็นต้องได้รับการส่องกล้องหรือไม่ ท่านสามารถสอบถามที่ โรงพยาบาล หรือ แพทย์เฉพาะทาง 

บทความที่เกี่ยวข้อง
H.pylori เอช.ไพโลไร การติดเชื้อในกระเพาะ โรคกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร คลินิก หมออรรถวิทย์ หมอกรเพ็ญ สุราษฎร์ธานี
การติดเชื้อ เอช ไพโลไร (H.pylori) เป็นสาเหตุที่สำคัญ ที่ทำให้เกิด โรคกระเพาะอาหาร โรคแผลในกระเพาะ และมะเร็งกระเพาะอาหาร
9 ก.ย. 2023
คลินิก หมออรรถวิทย์ หมอกรเพ็ญ ทางเดินอาหาร ตับ ลำไส้ กระเพาะ โรคทั่วไป ให้คำปรึกษา อัลตราซาวด์ ultrasound การตรวจเชื้อ pylori เป่าลมหายใจ
การติดเชื้อ เอช.ไพโลไร (Helicobacter pylori หรือ H. pylori) เป็นสาเหตุของ อาการจุกเสียดแน่นท้อง โรคแผลในกระเพาะอาหาร รวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหาร
12 ส.ค. 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy