แชร์

การติดเชื้อ H.pylori ภัยร้ายเงียบ อันตรายถึงชีวิต

อัพเดทล่าสุด: 9 ก.ย. 2023
1005 ผู้เข้าชม
H.pylori เอช.ไพโลไร การติดเชื้อในกระเพาะ โรคกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร คลินิก หมออรรถวิทย์ หมอกรเพ็ญ สุราษฎร์ธานี

การติดเชื้อ เอช ไพโลไร (H.pylori หรือ Helicobactor pylori) ภัยร้ายเงียบ อาจอันตรายถึงชีวิต

เอช. ไพโลไร เป็นสาเหตุที่สำคัญ ที่ทำให้เกิด โรคกระเพาะอาหาร โรคแผลในกระเพาะ รวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหาร 

1️⃣ เชื้อ เอช.ไพโลไร สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร ?

        ● หากคุณมีอาการปวดท้อง เป็นๆ หายๆ ก่อนและหลังเวลารับประทานอาหาร มีอาการแสบร้อน หรือ มีอาการจุกแน่นนั้นอาจเป็นสัญญาณของ โรคกระเพาะอาหาร ซึ่งสาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร อาจเกิดจากที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ทานอาหารรสจัด มีความเครียด สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และการรักประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวด

        ● แต่สาเหตุที่สำคัญ อีกอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร คือการ ติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะ อาหารที่ชื่อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobactor Pylori) หรือที่เรียกว่า เอช.ไพโลไร (H.pylori)

          ● ในประเทศไทย คนที่มีโรคกระเพาะอาหาร มักจะมีเชื้อแบคทีเรีย ชนิดนี้อาศัยอยู่ในเยื่อบุกระเพาะอาหาร มากถึง 90% ทำให้เป็นสาเหตุของ โรคกระเพาะอาหาร ที่พบบ่อย และใกล้ตัวเรามากๆ

2️⃣ เชื้อ เอช.ไพโรไล คืออะไร และ เราได้รับเชื้อมาได้อย่างไร ?

          ● เชื้อ เอช.ไพโลไร เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่อาศัยในกระเพาะอาหารของมนุษย์เรา มีความสามารถในการทนกรด รวมถึงยังสามารถเกาะติดกับเยื่อบุของกระเพาะได้ ซึ่งทำให้เชื้อนี้ สามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะ ได้เป็นเวลานานนับ 10 ปี โดยอาจยังไม่แสดงอาการได้

         ● การติดเชื้อ เอช.ไพโลไร สามารถ “ติดต่อจากคนสู่คนได้” เพียงการรับประทานอาหารและใช้อุปกรณ์ที่ปนเปื้อนชนิดนี้ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ เชื้อก็สามารถเข้าสู่กระเพาะได้

         ● การได้รับเชื้อในปริมาณที่มาก หรือติดเชื้อ แบบเฉียบพลัน จะมีอาการเหมือนโรคกระเพาะอาหาร โดยมีไข้ ปวดท้องคลื่นไส้ อาเจียน แล้วอาการจะดีขึ้นเอง

3️⃣ เชื้อ เอช.ไพโลไร นั้นน่ากลัวอย่างไร

         ● คนที่ติดเชื้อส่วนใหญ่ มักไม่มีอาการ
                ■ 20% เท่านั้นที่มีอาการของโรคกระเพาะ
                ■ 10% จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
                ■ 1-3% ของคนที่ติดเชื้อกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ โดยมีโอกาสเป็น #มะเร็งกระเพาะอาหาร เพิ่มสูงขึ้น 2 เท่า

          ● สิ่งที่หน้ากลัวคือ อาการอาจจะคล้ายกับโรคกระเพาะธรรมดา หากปล่อยปะละเลย ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร มีเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ หากโชคร้ายก็อาจจะกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ซึ่งหากเจอในระแพร่กระจาย โอกาสเสียชีวิต สูงมากกว่า 90%

          ● นอกจากนั้นอาจเพิ่มคาวมเสี่ยงในการเกิดโรคอื่นๆ เช่น โรคโลหิตจากจากการขาดธาตุเหล็ก / วิตามิน บี12 โรคเกร็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกันตัวเอง

4️⃣ เมื่อไหร่ เราต้องได้รับการตรวจเชื้อ เอช.ไพโลไร ?

  • ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ และอาหารที่ไม่ผ่านความร้อนต่างๆ
  • ผู้ที่มีอาการของโรคกระเพาะ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา และรวมถึงผู้ที่มีกรดไหลย้อน
  • ผู้ที่จำเป็นต้องใช้ยาบรรเทาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSIADs) หรือ ยาแก้ปวดข้อ / แอสไพริน เป็นระยะเวลานาน
  • ผู้ที่มีประวัติมะเร็งกระเพาะอาหารในครอบครัว
5️⃣ การตรวจเชื้อ เอช.ไพโลไร สามารถทำได้อย่างไรบ้าง ?

          ● การส่องกล้องกระพาะอาหาร เพื่อเก็บตัวอย่างเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งการตรวจด้วยการส่องกล้องนอกจากจะสามารถตรวจ เชื้อ เอช. ไพโลร ได้แล้ว ยังสามารถตรวจดูแผล ดูความอักเสบของกระเพาะ รวมถึงสัญญาณเบื้องต้น ของการเกิด มะเร็งกระเพาะอาหารได้

          ● การตรวจอุจจาระ (Stool antigen test) เป็นการตรวจอุจจาระส่งตรวจภายใน 4 ชม. เพื่อกาซากเชื้อ ซึ่งมีความแม่นยำ 95%

          ● การตรวจลมหายใจ (Urea breath test) โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยกินยาที่ใช้ตรวจ และเป่าลมเพื่อเก็บลมหายใจไปตรวจปริมาณของแอมโมเนียที่ผิดปกติ ซึ่งมีความแม่นยำ 98%
              ■ โดยการตรวจด้วยลมหายใจ นั้นเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่อยากส่องกล้องกระเพาะอาหาร และมีแค่อาการของโรคกระเพาะ ซึ่งควรเป็นผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี สามารถตรวจด้วยวิธีการตรวจลมหายใจได้
              ■ สามารถประเมินผลของการรักษา หลังจากรักษาเชื้อ เอช ไพโลไร
              ■ ซึ่งข้อดีของการตรวจด้วยลมหายใจ คือไม่เจ็บ ไม่เป็นรังสี มีความปลอดภัยมาก และมีความแม่นยำค่อนข้างสูง

6️⃣ การรักษาเชื้อ เอช.ไพโลไร นั้นทำอย่างไร ?

          ● เชื้อ เอช.ไพโลไร สามารถรักษาด้วยการทานยาฆ่าเชื้อ เป็นเวลา 10-14 วัน ร่วมกับทานยาลดกรด ควบคู่กัน

          ● การทานโปรไบโอติก (Probiotic) สามารถทานควบคู่กับการทานยาฆ่าเชื้อได้ โดยช่วยลดผลข้างเคียงจากการทานยาฆ่าเชื้อ

7️⃣ การป้องกันเชื้อ เอช.ไพโลไร สามารถทำได้อย่างไรบ้าง ?

          ● ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนที่จะรับประทานอาหาร
          ● หลีกเลี่ยงอาหารหรือน้ำดื่ม ที่ไม่สะอาด รวมถึงอาหารที่ปรุงไม่สุด
          ● หากมีโรคกระเพาะเรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง รวมถึงการตรวจหาเชื้อ เอช.ไพโลไร

บทความที่เกี่ยวข้อง
คลินิก หมออรรถวิทย์ หมอกรเพ็ญ ทางเดินอาหาร ตับ ลำไส้ กระเพาะ โรคทั่วไป ให้คำปรึกษา อัลตราซาวด์ ultrasound การตรวจเชื้อ pylori เป่าลมหายใจ
การติดเชื้อ เอช.ไพโลไร (Helicobacter pylori หรือ H. pylori) เป็นสาเหตุของ อาการจุกเสียดแน่นท้อง โรคแผลในกระเพาะอาหาร รวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหาร
12 ส.ค. 2023
คลินิก หมออรรถวิทย์ หมอกรเพ็ญ ทางเดินอาหาร ตับ ลำไส้ กระเพาะ โรคทั่วไป ให้คำปรึกษา อัลตราซาวด์ ultrasound ส่องกล้องทางเดินอาหาร ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เตรียมตัว
การส่องกล้องทางเดินอาหาร ปัจจุบันเป็นการตรวจที่นิยมแพร่หลาย มีหลักการอย่างไร ควรตรวจเมื่อไหร่ เจ็บหรือไม่ และควรเตียมตัวก่อนการส่องกล้องอย่างไร
12 ส.ค. 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy